เรามาทำความรู้จักกับโรค ไบโพล่าร์ กัน ไบโพล่าร์ มาจากคำว่า
bi แปลว่าสอง และ polar ที่แปลว่า ขั้ว
รวมแล้วก็แปลว่า โรคสองขั้ว และสิ่งที่แบ่งเป็นสองขั้วนั้นก็คือ อารมณ์ แปลเป็นภาษาไทยง่ายๆ ก็คือ โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว
ซึ่งฟังแล้วให้ความรู้สึกว่าคนที่เป็นต้องมีอารมณ์คุ้มดีคุ้มร้าย แต่ความจริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น
ลักษณะของโรค
คนปกติมักมีอารมณ์พื้นฐานคือ สุขารมณ์ และ ทุกขารมณ์ สุขารมณ์ได้แก่ อารมณ์สดชื่น รู้สึกสุข
มองโลกในแง่ดี ซึ่งตรงข้ามกับทุกขารมณ์ ซึ่งเป็นอารมณ์ปกติที่ใครๆ ก็รู้จัก แต่การมีอารมณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าว
มักเกิดขึ้นตามภาวะแวดล้อม จะมากน้อยขึ้นอยู่กับสภาพจิตใจ แต่คนที่เป็นโรคนั้น
จะมีอารมณ์ที่เกินพิกัดกว่าปกติมาก และนานเกินกว่าจะอธิบายด้วยเหตุ จากสภาวะที่มากระทบ
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า อาการที่สำคัญของโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว คือ มีความรู้สึก สุขมากเกินไป หรือ ทุกข์มากเกินไป นานเกินไป เช่น นานเป็นอาทิตย์ๆ หรือ เป็นเดือนๆ โดยไม่มีเหตุผล จนมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของคนคนนั้นได้
การเป็นโรคนี้มีผลกระทบอย่างไรบ้าง
ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะคึกมาก คือผู้ป่วยมีอารมณ์ดีมาก พูดเก่ง คุยเก่ง แต่มักคุยไม่จบเรื่อง เพราะความคิดวิ่งเร็วเกินไป
มักคิดว่าตนเองมีความสามารถเหนือคนอื่น อารมณ์ที่ดีก็กลายเป็นฉุนเฉียว ก้าวร้าว เพราะถูกขัดใจ
ผู้ป่วยหลายคนใช้เงินเก่ง ช๊อปกระหน่ำ เล่นการพนัน หรือแม้แต่การหาเรื่องชกต่อย บ้าพลัง
ซึ่งอาจจะถูกทำร้ายร่างกาย พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนแต่นำความวิบัติมาสู่ชีวิตได้
ในทางกลับกัน ระยะเศร้าจะมีลักษณะต่างๆ ตรงข้ามกับระยะคึก ผู้ป่วยรู้สึกไม่สดชื่น เศร้า ท้อแท้
ความคิดไม่แล่น ไม่อยากทำอะไร บางครั้งก็ฉุนเฉียวหงุดหงิด เพราะมีแต่ความรู้สึกลบกับชีวิต
หนักๆ เข้าก็คิดอยากตาย จนถึงขั้นฆ่าตัวตาย แต่สิ่งที่เหมือนกันระหว่างคึกกับเศร้า คือ
นอนไม่หลับ อย่างมาก ซึ่งมักเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยไปพบแพทย์ หรือ ติดยาเสพติดในเวลาต่อมา
โดยพื้นฐานแล้วอารมณ์ของคนปกติทั่วไปนั้นจะมีอาการเศร้า เนื่องจากได้รับผลกระทบทางด้านจิตใจ
หรือการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักไปนั้น โดยปกติแล้วจะมีระยะเวลา 1-6 เดือน
ถ้าหากเกินกว่านั้น ถือว่าเข้าข่ายผิดปกติ ซึ่งบุคคลรอบข้าง หรือใกล้ชิด ควรหมั่นสังเกตอาการของคนในครอบครัว
สาเหตุของโรคอารมณ์แปรปรวณสองขั้ว
ไม่ได้มีอาการชัดๆ แบบนี้ทุกคน แถมยังไม่มีการทดสอบห้องปฏิบัติการมาช่วย
บางครั้งจึงทำให้วินิจฉัยยากมาก แต่ยังโชคดีที่ปัจจุบันความก้าวหน้าทางการแพทย์ ได้ทำให้โรคนี้
เป็นโรคที่สามารถบำบัดให้กลับเป็นปกติได้ การสังเกตอาการแต่เนิ่นๆ และยอมรับการรักษาอย่างจริงจัง
จากผู้ป่วย และคนใกล้ชิด จัดเป็นหัวใจสำคัญของการรักษาโรคนี้
สาเหตุของโรคไบโพล่าร์ แท้จริงแล้วเกิดจาก ความผิดปกติทางสมอง
เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี โดยสารเคมีที่เป็นตัวควบคุม เกี่ยวกับเรื่องของอามรณ์
มีความเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจจะถ่ายทอดได้จากพันธุกรรม ส่วนเรื่องของปัจจัยภายนอก
ทางด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น จะเป็นตัวเร่งทำให้ภาวะของโรคเกิด และเห็นได้เร็วขึ้น เช่น ภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ
สังคม และการเมือง เพราะทำให้เกิดความเครียด ทำให้อาการของโรคปรากฎออกมา
การป้องกันรักษา
สำหรับวิธีการป้องกัน และรักษานั้น เมื่อรู้ต้นตอของโรคได้อย่างชัดเจน ว่าเกิดจากปัจจัยทางชีววิทยาทางด้านสารเคมีในสมอง
เมื่อทราบว่าสารเคมีตัวไหนขาด หรือมีมากเกินไป แพทย์ก็จะแก้ไขตรงจุด โดยให้ยาไปควบคุมสารเคมีตัวนั้นกับผู้ป่วย
นอกจากนั้นก็อาศัย วิธีการรักษาด้วยการใช้ กิจกรรมบำบัด โดยแพทย์จะให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยว่า ถ้าหากมีวินัยในการรักษา
และทานยาอย่างสม่ำเสมอ ก็จะสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่ในบางรายที่มีอาการหนัก ก็อาจจะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์เป็นพิเศษ
แต่ก็ไม่ต้องกังวลใจให้มากนัก ลองกับไปทบทวนตัวเองดู หรือมองคนรอบข้าง ว่ามีอาการแบบนี้บ้างไหม ยิ่งพบเร็ว ก็ยิ่งรักษาได้ขายขาดมากขึ้น ..
|