การแพ้ยา Drug Allergy หรือ Hypersensitivty

 
   
   
 

         การแพ้ยา (Drug Allergy หรือ Hypersensitivty) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับสิ่งแปลกปลอม ซึ่งในที่นี้หมายถึง “ยา” ระบบภูมิต้านทานในร่างกายจะพยายาม กำจัดสิ่งแปลกปลอมให้หมดไป ในกรณีที่ไม่สามารถกำจัดได้ หรือกำจัดได้ไม่หมด ขึ้นอยู่กับชนิดของสิ่งแปลกปลอม และความผิดปกติทางพันธุกรรมบางอย่าง ทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อร่างกาย

         โดยมีกลไกการเกิดคือ เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย จะไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างสารชนิดหนึ่ง ไปจับที่ Mast Cell หรือ Basophill ถ้าได้รับอีกในครั้งต่อไป จะมีการจับซ้ำเพิ่มขึ้นอีก ผลก็คือ ทำให้เกิดการหลั่งสารหลายชนิดในร่างกาย ที่ทำให้เกิดอาการแพ้ขึ้น ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อเรียบหดตัว หลอดเลือดฝอยขยายตัว เกิดกลุ่มอาการต่างๆ เรียกว่า กลุ่มอาการจากปฏิกิริยาภูมิแพ้ อาการจะมากหรือน้อย ขึ้นกับการหลั่งสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ต่อเนื้อเยื่อของร่างกาย ปฏิกิริยาภูมิแพ้เหล่านี้จะแตกต่างกันไปในแต่ละคน บางคนอาจเกิดอาหารแพ้ ในขณะที่คนอื่นๆ อาจไม่เกิดอาการเลยก็ได้


ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องในการทำให้เกิดการแพ้ยา
  1. ลักษณะเฉพาะของยา ยาที่มีโมเลกุลใหญ่ จะกระตุ้นภูมิคุ้มกันทำให้เกิดอาหารแพ้ง่ายกว่ายาที่มีโมเลกุลเล็ก และการเรียงตัวของสารก็มีส่วนด้วย


  2. วิธีการใช้ยา การให้ยาทางหลอดเลือดจะทำให้เกิดการแพ้ยาชนิดรุนแรงมากกว่าวิธีอื่นๆ


  3. อายุของผู้ใช้ยา พบว่าอาการแพ้ในเด็กจะน้อยกว่าในผู้ใหญ่


  4. ผลจากสิ่งแวดล้อม เช่น แสงแดดจะกระตุ้นให้เกิดการแพ้ยาบางชนิดได้

 
     
 


อาการแสดงของการแพ้ยา การแพ้ยาทำให้เกิดอาการได้ในเกือบทุกส่วนของร่างกาย
  • อาการทางผิวหนัง
    เป็นผื่นคัน หรือ คันโดยไม่มีผื่นก็ได้ ลมพิษ เป็นผื่น นูนแดง เป็นตุ่มน้ำผองใส เป็นรอยดำ


  • อาการทางระบบสัมผัส
    หู้อื้อ หูหนวก ตามัว มองภาพไม่ชัด


  • อาการทางระบบทางเดินหายใจ
    หอบ หายใจลำบาก


  • อาการทางระบบหลอดเลือด และ หัวใจ
    ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นเร็ว


  • อาการทางระบบทางเดินอาหาร
    ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ตับอักเสบ


  • อาการทางระบบทางเดินปัสสาวะ
    การทำงานของไตเสียไป ไตวาย

    นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นๆ เช่น อ่อนเพลีย ต่อมน้ำเหลืองโต สิว บวมตามตัว ฯลฯ

 
     
 


กรณีสงสัยว่าแพ้ยา ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
  1. หยุดยาทันที
    ถ้าใช้ยาอยู่หลายชนิดไม่ทราบว่าแพ้ยาตัวไหน ควรหยุดยาทุกชนิด แต่ถ้าหากมีความจำเป็นต้องใช้ และอาการแพ้ยาไม่รุนแรง แพทย์อาจจะพิจารณาใช้ยา อาการไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์


  2. รับประทานยาแก้แพ้
    ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์


  3. ควรนำยาทุกชนิดที่รับประทานไปให้แพทย์ดูด้วย เพื่อวินิจฉัยว่าท่านแพ้ยาอะไร


  4. เมื่อหายจากอาการแพ้ยาแล้วจดชื่อยา และลักษณะอาการที่เกิดจากการแพ้ยาชนิดนั้นไว้แจ้งให้แพทย์ทราบทุกครั้ง เมื่อจำเป็นต้องใช้ยา ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง


 
     
 

ขอขอบคุญข้อมูลจาก  www.phyathai.com