หน้าแรก
ร้านอาหาร
ท่องเที่ยว
ที่พัก
บทความ
เริงใจ
สุขภาพ
หมาแมว
รถ
ธรรมะ
Shopping
อาการเจ็บแน่นหน้าอก
อาการเจ็บแน่นหน้าอก
อาการเจ็บแน่นหน้าอกที่แสดงว่ามี
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
(
angina
) เป็นอาการที่แสดงว่า มีเลือดแดงไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดๆ ก็ตาม
ลักษณะของอาการ
เจ็บแน่นหน้าอก แบบหนักๆ เหมือนถูกกดทับ หรือ บีบรัด หรือ รู้สึกอึดอัด หรือแสบร้อน บริเวณหน้าอก อาจร้าวไปที่ไหล่ซ้าย คอ หรือ แขนซ้าย หรือ รู้สึกหายใจไม่สะดวกร่วมด้วย อาการจะเกิดขึ้น และถึงจุดที่เป็นมากที่สุดในเวลาเพียงไม่กี่นาที มักจะถูกกระตุ้นให้เกิดอาการด้วย การออกแรง หรือ การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เช่น โกรธ
เครียด
ถ้าได้อมยา หรือ พ่น
ยาขยายหลอดเลือด
หัวใจใต้ลิ้น แล้วอาการดังกล่าวจะทุเลาลง
สาเหตุที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่พอ
หลอดเลือด
ที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
ตีบ
หรือ อุดตันหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ
หัวใจหดเกร็งตัว
โรคของลิ้นหัวใจ บางชนิด
โรค
กล้ามเนื้อหัวใจหนา
ผิดปกติ
ภาวะโลหิตจางรุนแรง ธัยรอยด์เป็นพิษ ฯลฯ
อาการเหล่านี้มักไม่ใช่อาการเจ็บหน้าอก ที่แสดงว่ามี กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (angina)
เจ็บแบบเสียดๆ หรือ คล้ายมีของแหลมทิ่มแทง
หายใจเข้าออก ไอ เคลื่อนไหวร่างกาย หรือ ยกแขนแล้วเจ็บมากขึ้น
เจ็บเป็นช่วงเวลาสั้นมากๆ เป็นวินาที หรือ เจ็บติดต่อกันนานเป็นชั่วโมง หรือเป็นวัน
เจ็บร้าวลงมาถึงบริเวณสะโพกหรือขา
สาเหตุอื่นๆ ของอาการเจ็บหน้าอก
เยื่อหุ้มหัวใจ หรือ เยื่อหุ้มปอดอักเสบ
หลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องอกฉีกขาด
หลอดเลือดดำจากหัวใจไปสู่ปอดอุดตัน
ปอดแตก ทำให้มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด
แผลในกระเพาะอาหาร กรดไหลย้อน เข้าสู่หลอดอาหาร หรือ ถุงน้ำดี/ตับอ่อนอักเสบ
กล้ามเนื้อ หรือ กระดูกอ่อน บริเวณทรวงอกอักเสบ
การวินิจฉัยสาเหตุของอาการเจ็บแน่นหน้าอก อาศัยการซักประวัติอย่างละเอียด และตรวจร่างกาย เพื่อแยกประเภทของอาการว่า น่าจะมีแหล่งที่มาของอาการเจ็บจากอวัยวะส่วนใด หลังจากนั้นอาจต้องใช้การตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ เช่น ตรวจเลือด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เอกซเรย์ทรวงอก ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง หรือ ตรวจคลื่นหัวใจ ขณะเดินสายพาน หรือ ทดลองให้ยา เช่น ยาขยายหลอดเลือดหัวใจ ยาแก้ปวดคลายกล้ามเนื้อ ฯลฯ แล้วดูการตอบสนองต่อยาว่าผู้ป่วยดีขึ้นหรือไม่ หลังให้การรักษา
โรคประจำตัวที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกทุกรายโดยเฉพาะผู้สูงอายุ มักมีโรคประจำตัว ที่เป็นความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเส้นเลือดสูง หรือ ผู้ที่สูบบุหรี่ ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรับพบแพทย์ โดยเฉพาะในขณะที่มีอาการ เพื่อหาสาเหตุ และให้การวินิจฉัย หากอาการเจ็บหน้าอกดังกล่าวมีสาเหตุจากโรคที่รุนแรง โดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจอุดตัน หรือตีบ แพทย์จะได้เร่งให้การรักษาอย่างถูกต้อง และรวดเร็ว เพื่อลดอัตราการเสียชีวิต และทุพพลภาพที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะดังกล่าว
ขอขอบคุญข้อมูลจาก
www.phyathai.com