การวินิจฉัยโรค
การฝากครรภ์ที่ดี เฝ้าระวังสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง จะมีความสำคัญในการตรวจพบระยะแรก
และรับให้การรักษา สิ่งตรวจพบสำคัญที่ช่วยในการวินิจฉัยคือ
- ความดันโลหิตสูงกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท
- น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะถ้าเพิ่มมากกว่า 1 กิโลกรัมต่อสัปดาห์
- การตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะจากแผ่นทดสอบหาโปรตีน มากกว่าหรือเท่ากับ 1+
- ถ้าอาการรุนแรงขึ้นจะมีอาการ ปวดศีรษะ บริเวณหน้าผาก หรือท้ายทอย แม้รับประทานยาแก้ปวดก็ไม่ดีขึ้น, ตามองเห็นไม่ชัด, จุกแน่นลิ้นปี่ หรือปวดท้องด้านขวาบน, หอบเหนื่อย มีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการผิดปกติ เช่น การทำงานของตับ, ไตผิดปกติ การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เป็นต้น
- ถ้าอาการรุนแรงมาก อาจชักทั้งตัว, มีเลือดออกในสมอง
ในรายที่อาการไม่รุนแรง อายุครรภ์ยังไม่ครบกำหนด ผู้ป่วยบางรายสามารถพักผ่อนที่บ้านได้ โดยต้องสังเกตอาหารอย่างใกล้ชิด ไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง ซึ่งแพทย์จะนัดตรวจครรภ์ถี่ขึ้น
ถ้ามีอาการเหล่านี้ ให้รีบมาโรงพยาบาล
- ปวดศีรษะ
- ตาพร่ามัว
- จุกแน่นชายโครงข้างขวา หรือ ลิ้นปี่
- เจ็บครรภ์
- มีน้ำ หรือเลือดออกทางช่องคลอด
- ทารกดิ้นน้อยลง
|