ต่อมธัยรอยด์

 
   
   
 

ต่อมธัยรอยด์

         มีลักษณะเหมือนผีเสื้ออยู่ที่ใต้ลูกกระเดือก มีขนาดยาว 4 ซม. กว้าง 1-2 ซมฬ

ต่อมธัยรอยด์ ทำหน้าที่ในการสร้างธัยรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งฮอร์โมนธัยรอยด์ จะทำหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญอาหารของร่างกาย ระดับอุณหภูมิของร่างกาย ระดับไขมันในเลือด รวมทั้งอารมณ์ และ ความรู้สึก

ปกติต่อมธัยรอยด์ จะหลั่งฮอร์โมนออกมาในปริมาณที่เหมาะสม ฮอร์โมนที่สำคัญคือ Thyroxine (T4) และ Triiodothyronine (T3) โดยฮอร์โมนจะมีธาตุ ไอโอดีน เป็นส่วนประกอบสำคัญ

ภาวะ Hypothyroid เกิดจากฮอร์โมนหลั่งน้อยไป ร่างกายจะเผาผลาญอาหารน้อยลง

ภาวะ Hyperthyroid เกิดจากฮอร์โมนหลั่งมากไป ร่างกายจะเผาผลาญอาหารมาก ทำให้น้ำหนักลด

โรคของต่อมธัยรอยด์ แบ่งได้ 4 กลุ่มดังนี้
  • ต่อมธัยรอยด์โตแบบไม่เป็นพิษ
  • ต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ
  • ต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อย
  • มะเร็งต่อมธัยรอยด์
  •  
         
     

    1. ต่อมธัยรอยด์โตแบบไม่เป็นพิษ

             คือ ต่อมธัยรอยด์ที่มีขนาดโตอย่างเดียว แต่สร้างฮอร์โมนได้ปกติ

    อาการ
  • ผู้ป่วยจะมีอาการคอโตกว่าปกติ (คอพอก) โดยไม่มีความผิดปกติอื่นๆ


  • สาเหตุ
  • จากการขาดไอโอดีน
  • เป็นก้อนถุงน้ำ
  • การได้รับสารกัมมันตรังสีไอโอดีน (I131) มากเกินไป
  • ไม่ทราบสาเหตุ


  • การรักษา
  • ให้รับประทานเกลือไอโอดีน



  • 2. ต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ

             ตรวจเลือดพบว่าค่า T3 หรือ T4 สูงและ TSH ต่ำ อาจวินิจฉัยการทำงานด้วย Thyroid scan เพิ่มในกรณีที่สงสัยว่าเป็น Toxic Goiter

    อาการ อารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ ตาโปน เหนื่อง่าย กล้ามเนื้ออ่อนแรง มือสั่น ใจสั่น ขี้ร้อน น้ำหนักลด ประจำเดือนผิดปกติ

    สาเหตุ
  • โรค Graves' diseasa เกิดภาวะมีภูมิไปกระตุ้นต่อมธัยรอยด์ ทำให้โตทั้งต่อม
  • โรค Multinular toxic goiter ภาวะที่ก้อนในต่อมธัยรอยด์ทำงานสร้างฮอร์โมนเพิ่มขึ้น อาจก้อนเดียว หรือ หลายก้อน
  • ต่อมธัยรอยด์อักเสบ
  • มีอาการของคอพอกเป็นพิษ


  • การรักษา
  • ให้รับประทานยาเพื่อลด
  • การสร้างฮอร์โมน
  • ให้รับประทานน้ำแร่ (สารกัมมันตรังสีไอโอดีน (I131))
  • Radioactive iodine
  • การผ่าตัด



  • 3. ต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อย

             คือ ภาวะที่ต่อมธัยรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมาน้อย ทำให้ต่อมใต้สมองสร้างฮอร์โมน TSH ออกมามาก เพื่อกระตุ้นต่อมธัยรอยด์ทำงานมากขึ้น ทำให้ต่อมธัยรอยด์โตขึ้นที่เราเรียกว่า คอพอก

    การวินิจฉัย สามารถวินิจฉัยได้โดยการเจาะเลือดตรวจหาระดับ TSH Free T3 (FT3) Free (FT4) โดยจะพบว่า T4 ปกติหรือต่ำ แต่ TSH สูง

    อาการ อ่อนเพลีย ผิวหยาบกร้าน และ แห้ง ผมแห้ง ขี้ลืม อารมณ์ผันผวน เสียงแหบ น้ำหนักเพิ่มขึ้น ขี้หนาว เบื่ออาหาร กลืนลำบาก

    สาเหตุ
  • เกิดจากการอักเสบของต่อมธัยรอยด์
  • เกิดจากการตัดต่อมธัยรอยด์
  • เกิดจากกการได้รับน้ำแร่ที่ใช้รักษาคอพอกเป็นพิษ สารกัมมันตรังสีไอโอดีน 131


  • การรักษา โดยการให้ธัยรอยด์ฮอร์โมนไปตลอดชีวิตโดยจะต้องเริ่มให้ในขนาดน้อยๆ แล้วค่อยๆ ปรับยาจนกระทั่งระดับ T4, TSH อยู่ในเกณฑ์ปกติ


    4. มะเร็งต่อมธัยรอยด์

    อุบัติการณ์ พบประมาณร้อยละ 1-2 ของมะเร็งทั้งหมด และ พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

    ปัจจัยเสี่ยง
  • ได้รับการฉายรังสีในบริเวณคอ
  • มีบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งต่อมธัยรอยด์


  • อาการ
  • เนื้องอกต่อมธัยรอยด์ หรือ คอพอกที่โตเร็วขึ้น
  • ผู้ป่วยมีเนื้องอกต่อมธัยรอยด์ ร่วมกับมีเสียงแหบ และ กลืนลำบาก
  • มี ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต


  • การรักษา
  • การให้สารกัมมันตรังสีไอโอดีน 131
  • การฉายแสง
  • การรักษาจะใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง และความรุนแรงของโรค
  • มะเร็งต่อมธัยรอยด์เป็นโรคหนึ่งที่การรักษาได้ผลดี ถ้าได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก


  •  
         
     

    ขอขอบคุญข้อมูลจาก  www.phyathai.com