|
|
|
|
ไม่ว่าฤดูไหน เราก็ตรวจเช็คเรื่องความร้อน |
|
|
รถยนต์กับความร้อนเป็นของคู่กัน ยิ่งอากาศร้อนจัดๆ ในบ้านเรา
ยิ่งต้องมีการตรวจเช็คความพร้อมของระบบระบายความร้อนให้ดีเอาไว้รองรับกับสภาพอากาศในเมืองไทย
|
|
|
|
|
|
เตรียมพร้อมและตรวจเช็คระบบ
อุปกรณ์สำคัญของเครื่องยนต์ที่ใช้ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำคือ
หม้อน้ำ
หม้อน้ำ ทำหน้าที่ ระบายความร้อนน้ำหล่อเย็น ด้วยระบบหมุนเวียน
โดยอาศัยอากาศวิ่งผ่านครีบโลหะบางๆ ที่อยู่ติดกับท่อน้ำเล็กๆ ของหม้อน้ำส่งผลให้อุณหภูมิน้ำหล่อเย็นอยู่ในจุดที่เหมาะสม
การทำความสะอาดหม้อน้ำ
แบบง่ายๆ ด้วยตนเอง เพียงขับรถไปยังปั้ม นำสายลมมาเป่าเข้าที่รังผึ้ง ของหม้อน้ำ
เพื่อให้เศษฝุ่นละออง เศษหินก้อนเล็กๆ และเศษใบไม้หลุดออกไป เพราะสิ่งเหล่านี้จะเข้ามาขวางทางลมที่จะพัดผ่านไปยัง
ครีบระบายความร้อนที่หม้อน้ำ หลังทำความสะอาดแล้วควร ตรวจดูรอยรั่วของหม้อน้ำ
ว่ามีคราบเขียวๆ ของน้ำยาหล่อเย็นหรือคราบสนิมของน้ำหล่อเย็นที่เติมลงไป ว่ามีจุดรั่วซึมที่ใดบ้าง เช่นที่
หลอดน้ำ ฝาประกบข้างหม้อน้ำ ที่คอเติมน้ำหล่อเย็น
|
|
|
|
|
|
ฝาหม้อน้ำและถังพัก
ฝาหม้อน้ำ ถือเป็นอีกจุดที่สำคัญ ซึ่งฝาหม้อน้ำจะ
ทำหน้าที่คุมแรงดันและอุณหภูมิของน้ำหล่อเย็น ให้สูงอยู่ในแรงดันและองศาที่กำหนดไว้
วิธีการตรวจสอบ
เปิดฝาหม้อน้ำออกใช้นิ้วมือลูบบริเวณซีลยาง ถ้ามีสภาพแข็งกรอบควรจะเปลี่ยนใหม่
และเช่นเดียวกันลองใช้นิ้วมือบีบฝาหม้อน้ำ ดูว่าสปริงยังมีแรงต้านที่ดีหรือไม่ถ้านิ่มเกินไป
แสดงว่าสปริงเริ่มล้าควรเปลี่ยนฝาหม้อน้ำใหม่เพราะ ถ้าซีลยางแข็งกรอบ สปริงนิ่มเกินไปพอแรงดันของน้ำหล่อเย็นภายในระบบสูงขึ้นฝาหม้อน้ำจะยกตัวเร็วจนเกินไป
ทำให้แรงดันและอุณหภูมิของน้ำหล่อเย็นไม่คงที่ ส่งผลถึงประสิทธิภาพการทำงานและการสึกหรอของเครื่องยนต์ที่จะตามมา
|
|
|
|
|
|
ท่อน้ำ
ท่อทางเดินน้ำหล่อเย็นก็เป็นจุดสำคัญในการตรวจสอบ
หากมีการเสื่อมสภาพจนน้ำหล่อเย็นสามารถซึมเล็ดลอดออกมาได้จะส่งผลเสียให้กับเครื่องยนต์
ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าน้ำหล่อเย็นใหลเล็ดลอดออกมามากน้อยเพียงใด
วิธีการตรวจสอบ
ใช้นิ้วมือบีบไปที่ท่อน้ำดูว่ายังนิ่มอยู่หรือแข็งกระด้าง ถ้านิ่มอยู่แสดงว่าท่อน้ำยังคง
ใช้งานได้อีกนานพอสมควร แต่ถ้าบีบแล้วแข็งกรอบนั่นแสดงว่าท่อน้ำเริ่มเสื่อมสภาพควรทำการเปลี่ยนใหม่
เพราะท่อน้ำไม่ได้เป็นเพียงแค่ทางเดินของน้ำหล่อเย็นเพียงอย่างเดียว แต่ยังคอยรับแรงดันของน้ำหล่อเย็นที่สูงเพิ่มขึ้นและ
ลดต่ำตามอุณหภูมิความร้อนของเครื่องยนต์ที่ใช้อยู่ตอนนั้น เช่นเดียวกับเข็มขัดรัดท่อน้ำ
จะเป็นแบบบีบรัดซึ่งหลายคนคิดว่าใช้งานไปนานๆ จะเสื่อมสภาพ
แต่ข้อดีของเข็มขัดรัดท่อน้ำแบบนี้อยู่ตรงที่สามารถบีบรัดได้แน่นหนา
ไม่ว่าท่อทางเดินน้ำจะมีการขยายและหดตัวตามอุณหภูมิและแรงดันของน้ำหล่อเย็น
ส่วนเข็มขัดแบบขันยึด ข้อดีอยู่ที่ความแน่นหนา แต่ไม่สามารถเปลี่ยนสถานการณ์บีบรัดยืดหดตัวตามท่อน้ำได้
ดังนั้นจำเป็นต้องมีการตรวจเช็คอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน
|
|
|
|
|
|
วาล์วน้ำ
วาล์วน้ำหรือเทอร์โมสตรัท ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิน้ำหล่อเย็นให้อยู่ในจุดที่เหมาะสม
โดยมีการเปิด-ปิด เพื่อให้น้ำหล่อเย็นสามารถหมุนเวียนไปยังหม้อน้ำเพื่อระบายความร้อน
เมื่อวาล์วน้ำเสื่อมสภาพจะทำให้น้ำหล่อเย็นในเครื่องยนต์ไม่สามารถไหลเวียนออกมาระบายความร้อนที่หม้อน้ำได้
ท่อน้ำเริ่มแข็งตัวและจะมีน้ำหล่อเย็นส่วนหนึ่งดันออกไปยังถังพักน้ำ
หากยังใช้งานโดยไม่มีการตรวจเช็คจะทำให้ฝาสูบโก่ง เพราะฝาสูบของเครื่องยนต์รุ่นใหม่ๆ
มันนิยมใช้อลูมิเนียมในการผลิต ซึ่งแทนที่จะถ่ายเทความร้อนได้ดี ตัวมันเองกลับอมความร้อนได้ดีอีกเช่นกัน
|
|
|
|
|
|
ปั๊มน้ำ
ในส่วนของปั้มน้ำ มีหน้าที่ดูดน้ำหล่อเย็นจากหม้อน้ำ
หมุนเวียนเข้าสู่เครื่องยนต์ไประบายความร้อนให้กับชิ้นส่วนต่างๆ
ปั๊มน้ำหากใช้งานมานานอาจมีการเสื่อมสภาพ สำหรับท่านที่ตรวจเช็ครถเป็นประจำ
จะสังเกตเห็นน้ำหล่อเย็นในถังพักน้ำยุบบ่อยๆ ทั้งๆ ที่คอยเติมทุกๆ 3-4 วัน
ถ้าไม่ไช่ปัญหาที่มาจากการรั่วซึมในระบบ หรือฝาหม้อน้ำเสื่อมสภาพ อาจเป็นไปได้ว่าปั๊มน้ำเริ่มเสื่อมสภาพ
ควรเปลี่ยนใหม่ เพราะถ้าเกิดขับรถอยู่แล้วปั๊มน้ำเกิดน็อก น้ำในระบบไม่หมุนเวียนจะส่งผลให้เครื่องได้รับความเสียหาย
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ผู้ขับต้องมีการเตรียมตัว นอกจากหมั่นตรวจเช็คอุปกรณ์ระบบระบายความร้อนต่างๆ แล้ว
ผู้ขับควรให้ความสนใจและหมั่นตรวจสอบเสมอ
ก่อนการเดินทางควรหมั่นตรวจเช็คน้ำหล่อเย็น
หากมีการพร่องของน้ำหล่อเย็นที่ผิดสังเกต ควรนำรถไปศูนย์บริการฯ
เพื่อทำการตรวจเช็ค และควรหมั่นเช็คเกจ์วัดความรัอนเป็นระยะๆ ให้ติดเป็นนิสัย
|
|
|
|
|
|
หากเกิดเหตุสุดวิสัย ที่เกิดจากระบบระบายความรัอน เมื่อเครื่องยนต์มีอุณหภูมิสูงขึ้น
ควรจอดรถแล้วดับเครื่องเปิดฝากระโปรงหน้ารถรอให้อุณหภูมิเครื่องยนต์ลดลงสัก 15 นาทีถึง 1ชม.
ค่อยๆ เปิดฝาหม้อน้ำดูระดับน้ำหล่อเย็นถ้าพร่องลงไปให้นำน้ำสะอาดมาเติมให้เต็ม
และไม่ต้องปิดฝาหม้อน้ำ สตาร์ทเครื่องรอจนกว่าอุณหภูมิของเครื่องยนต์จะสูงจนวาล์วน้ำเปิด
และเติมน้ำเพิ่มเข้าไปจนเต็มและปิดฝาหม้อน้ำหรือหากไม่ชำนาญก็ควรโทรเรียกศูนย์บิรการฯ เพื่อนำรถไปแก้ไข
การหมั่นตรวจเช็คความเรียบร้อยของเครื่องยนต์ และตัวรถย่อมทำให้เกิดความอุ่นใจเมื่อนำมาใช้งาน
ควรรู้จักปฏิบัติให้เป็นกิจวัตรประจำวันจนกลายเป็นนิสัยติดตัว เพื่อแลกกับความปลอดภัยในการใช้รถ
หรืออย่างน้อยก็ช่วยประหยัดเงินและเวลาไม่ต้องมานั่งเสียอารมณ์ภายหลัง
|
|
|
|
|
|
ขอขอบคุณ นิตยสาร Thai driver |
|
|
|
|
|
|
|